แบบรายงานประจำปีสำหรับบริษัทที่มีความสัมพันธ์กัน ตามม.71 ทวิ (Disclosure Form) และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2562 ที่ต้องยื่นแบบภายใน 31 มี.ค. 63
- แบบรายงานประจำปีสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน ตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (Disclosure Form) ที่ใช้บังคับสำหรับการยื่นแบบ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
-การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90, ภ.ง.ด.91) ประจำปี 2562 ที่ต้องยื่นแบบภายใน 31 มี.ค. 63
1. โครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2562
- ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (หน่วยภาษี)
- มีรายได้เท่าไรที่ต้องยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
2 .ประเภทเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามาตรา 40(1) - (8) เปรียบเทียบเงินได้ที่มักเข้าใจผิด
- เงินได้ตามมาตรา 40(1) และ 40(2) แตกต่างกันอย่างไร
- เงินได้ตามมาตรา 40(7) งานรับเหมา กับ 40(8) งานรับจ้าง แตกต่างกันอย่างไร
- เงินได้ตามมาตรา 40(2) (6) และ (8) แตกต่างกันอย่างไร
3. เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ เงินได้ที่สามารถเลือกไม่นำไปรวมคำนวณภาษี
- เงินได้ ที่นายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้าง เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าโทรศัพท์ ค่าอาหาร รวมทั้งประโยชน์เพิ่มอื่นๆ เช่น ค่าเรียนภาษา ท่องเที่ยวประจำปี งานเลี้ยง/ของขวัญปีใหม่ เงินช่วยเหลือในโอกาสต่าง ๆ ค่ารักษาพยาบาล เบี้ยประกันชีวิต กรณีใดถือเป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษี
- ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเดินทาง ค่าพาหนะ กรณีใดถือเป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษี
- ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร ดอกเบี้ยสลากออมสิน
- เงินปันผล เงินได้จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวม
- เงินคืนหรือผลประโยชน์ที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- เงินได้ของผู้มีเงินได้อายุ 65 ปีขึ้นไป
- เงินได้ของผู้พิการ
4 .ประเด็นปัญหาทางภาษีอากรกรณีลูกจ้างเป็นคนต่างชาติ และหลักเกณฑ์การหักค่าลดหย่อน
- การเสียภาษีของคนต่างชาติที่ได้รับเงินได้จากประเทศไทย ต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทย หรือไม่ ถ้าไม่ได้เดินทางเข้ามาในไทย หรือมาอยู่ในไทยไม่ถึง 180 วัน
- กรณีคนต่างชาติเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้จากต่างประเทศต้องนำมาเสียภาษีหรือไม่
- กรณีได้รับเงินได้เป็นสกุลเงินต่างประเทศต้องแปลงค่าเป็นเงินบาทอย่างไร
- การหักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน ของสามีภรรยา หรือบุตรของคนต่างชาติ
5. วิธีการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้ทั้ง8 ประเภท หักอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุดทางภาษี
6. ค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
6.1 ค่าลดหย่อนส่วนตัว
- กรณีผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล สามารถลดหย่อนได้ทุกคนหรือไม่
6.2 ค่าลดหย่อนคู่สมรส
- สมรสระหว่างปี สามารถนำคู่สมรสมาหักลดหย่อนภายในปีภาษีนั้นได้หรือไม่
- คู่สมรสมีเงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารและไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการสามารถใช้สิทธิลดหย่อนคู่สมรสได้หรือไม่
- กรณีที่สามีและภรรยามีรายได้ทั้ง 2 ฝ่าย และยื่นรวมจะหักค่าลดหย่อนได้เท่าไหร่
6.3 ค่าลดหย่อนบุตร ค่าฝากครรภ์ ค่าคลอดบุตร
- หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการหักลดหย่อนบุตร และจำนวนเงินที่มีสิทธิหักลดหย่อนบุตร
- หลักฐานที่ต้องใช้เป็นหลักฐานเพื่อหักลดหย่อนค่าฝากครรภ์, ค่าคลอดบุตร มีอะไรบ้าง
- กรณีได้รับเงินช่วยค่าคลอดบุตรจากประกันสังคม 13,000 สามารถใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนได้เต็ม 60,000 บาทหรือไม่
- กรณีตั้งครรภ์ปีนี้ คลอดปีหน้าจะใช้สิทธิลดหย่อนอย่างไร
- กรณีตั้งครรภ์หัวปีท้ายปีจะใช้สิทธิได้ 60,000 บาท หรือ 120,000 บาท
- กรณีที่ตั้งครรภ์แฝดจะใช้สิทธิค่าฝากครรภ์, ค่าคลอดได้ 60,000 บาท หรือ 120,000 บาท
- ค่ารักษาพยาบาลกรณีที่แท้ง จะใช้สิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์, ค่าคลอดบุตรได้หรือไม่
- กรณีอุ้มบุญใครมีสิทธิใช้ค่าลดหย่อน
- กรณีมีบุตร 4 คน และมีบุตรบุญธรรมอีก 1 คน จะนำบุตรมาหักลดหย่อนทั้งหมดได้หรือไม่
- บุตรที่จบการศึกษาระหว่างปี และยังไม่ได้มีงานทำ สามารถนำมาหักลดหย่อนได้หรือไม่
- บุตรของภรรยาหรือสามี (ลูกติดสามี/ภรรยา) สามารถนำมาหักลดหย่อนบุตรได้หรือไม่
6.4 ค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูบิดา/มารดา
- หลักฐานเพื่อลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
- บุตรบุญธรรมสามารถนำบิดามารดาที่รับอุปการะเลี้ยงดูมาหักค่าลดหย่อนได้หรือไม่
- กรณีบิดามารดาถึงแก่ความตายในระหว่างปี หรือก่อนการยื่นแบบ ใช้สิทธิหักการลดหย่อน ทั้งหมดหรือไม่
- กรณีมารดาไม่มีเงินได้ บิดาใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนคู่สมรสไปแล้ว บุตรใช้สิทธิหักลดหย่อน อุปการะเลี้ยงดูมารดาได้อีกหรือไม่
- บิดาหรือมารดาเป็นคนต่างด้าว นำมาหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาได้หรือไม่
6.5 ค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ/ทุพลภาพ
- หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ
- หลักฐานเพื่อลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ/ทุพลภาพ
- กรณีผู้ดูแลคนพิการมีหลายคนที่มีชื่อในบัตรประจำตัวคนพิการแต่ละคนสามารถนำไปหักค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการได้อย่างไร
- กรณีมีการเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลคนพิการระหว่างปี นำสิทธิหักลดหย่อนมาใช้อย่างไร
- กรณีภรรยาไม่มีเงินได้ แต่มีชื่อเป็นคนดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวคนพิการ สามีสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้หรือไม่
6.6 ค่าลดหย่อนเงินสมทบกองทุนประกันสังคม
- หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนประกันสังคม
- กรณีสามีหรือภรรยาไม่มีเงินได้ แต่เป็นผู้ประกันตนตามพ.ร.บ.ประกันสังคม สามารถนำเงินสมทบกองทุนประกันสังคมที่ชำระมารวมหักลดหย่อนภาษีเงินสมทบกองทุนประกันสังคมที่ตนชำระด้วยได้หรือไม่
6.7 ค่าลดหย่อนประกันชีวิต, ประกันสุขภาพ, ประกันชีวิตแบบบำนาญ
- กรณีที่บริษัทซื้อประกันชีวิตให้พนักงานโดยเป็นไปตามระเบียบบริษัทพนักงานสามารถนำเบี้ยประกันชีวิตมาลดหย่อนได้หรือไม่
- กรณีซื้อประกันชีวิตให้บิดามารดาของคู่สมรส สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนได้หรือไม่
- กรณีที่กรมธรรม์นั้นมีผู้จ่ายดอกเบี้ยประกันหลายคน จะใช้สิทธิลดหย่อนอย่างไร
- หลักเกณฑ์การยกเว้นการหักค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
- กรณีซื้อประกันชีวิตที่มีการคุ้มครองเกิน 10 ปี แต่ได้รับเงินคืนเกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตจะถือว่าผิดเงื่อนไขหรือไม่ นำมาลดหย่อนได้หรือไม่
- กรณีที่มีการนำเบี้ยประกันภัยที่จ่ายไปมาลดหย่อน แต่มาทราบภายหลังว่าผิดเงื่อนไขตามที่กรมสรรพากรกำหนด มีแนวทางแก้ไขอย่างไร
6.8 ค่าลดหย่อนซื้อหน่วยลงทุน RMF, LMF และทำความรู้จักกับ SEF
- เงื่อนไขการซื้อหน่วยลงทุน RMF, LMF และการใช้สิทธิลดหย่อน
- กรณีที่มีการลงทุนซื้อ RMF และมีการระงับการซื้อติดต่อกันเกิน 1 ปี จะมีผลอย่างไรหรือไม่กับการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี
- กรณีซื้อ LMF เกิน 15% ของรายได้สามารถทำได้หรือไม่ และใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
- กำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน หากเกิน 15% ของเงินได้ต้องนำกำไรที่ได้นั้นไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่
- เงินปันผลที่ได้จากกองทุน/กำไรจากการขายกองทุนต้องเสียภาษีอย่างไร
- กรณีขายก่อนครบกำหนด จะถูกตรวจสอบหรือไม่ สรรพากรจะทราบได้อย่างได้
- โอกาสสุดท้ายการใช้สิทธิประโยชน์จากกองทุน LTF และทางเลือกใหม่ที่ต้องรู้ก่อนเสียสิทธิ (SSF)
6.9 ค่าลดหย่อนบ้านพักหลังแรก
- หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้สิทธิลดหย่อนบ้านพักหลังแรก
6.10 ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ/สร้างที่อยู่อาศัย
- กรณีสามีภรรยายื่นกู้ร่วมซื้อบ้าน ภรรยาไม่มีเงินได้ในปีภาษีนั้นสามีสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้เต็มจำนวนหรือไม่
6.11 ค่าลดหย่อนเงินบริจาค
- บริจาคให้กับวัด
- บริจาคให้กับสถานศึกษา
- บริจาคให้กับโรงพยาบาล
6.12 ค่าลดหย่อนภาษีค่าใช้จ่ายท่องเที่ยว 55 จังหวัด
- กรณีที่มีการจ่ายค่าท่องเที่ยวให้กับบริษัททัวร์ที่พาไปเที่ยวโดยแพ็คเกจมีการนำเที่ยวเมืองหลักและต่อด้วยเมืองรองสามารถนำมาลดหย่อนได้หรือไม่
6.13 ค่าลดหย่อนภาษีค่าใช้จ่ายท่องเที่ยวเมืองหลักและเมืองรอง กรณีจองผ่านผู้ให้บริการ เช่น Agoda, Booking, Traveloka
6.14 ค่าลดหย่อนซื้อสินค้าเกี่ยวกับการศึกษาและกีฬา กรณีซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์/ซื้อที่ Outlet
6.15 ค่าลดหย่อนซื้อสินค้า OTOP
6.16 ค่าลดหย่อนซื้อหนังสือ หนังสือประเภทใดบ้างที่ลดหย่อนได้ กรณีหนังสือ/ E-book ต่างประเทศจะนำมาลดหย่อนได้หรือไม่
7. เอกสารหลักฐานการลดหย่อนภาษี
- ใบกำกับภาษีมีสินค้ารายการอื่นรวมอยู่ด้วยต้องทำอย่างไร นำมาใช้ได้หรือไม่
- รายการที่ต้องเช็ค ก่อนใช้บิลเงินสดเป็นเอกสารหลักฐาน
- ซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่มีใบกำกับภาษีใช้สิทธิลดหย่อนได้หรือไม่ ใช้อะไรเป็นหลักฐาน
8. การตรวจสอบภาษีจากข้อมูลการรับ-โอนเงินและดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร
- หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการส่งข้อมูลรับโอน-ฝากเงิน นับอย่างไร รวมทุกบัญชี-รายบัญชี และกรณีใดไม่เข้าเกณฑ์ที่ต้องส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร
- จะทำอย่างไรหากไม่ต้องการให้ธนาคารส่งข้อมูลดอกเบี้ยและผลตอบแทนเงินฝากให้สรรพากร
9. กรณีที่คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้วไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีจำเป็นต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ หากไม่ยื่นจะมีผลอย่างไร
10. คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีl แบบรายงานประจำปีสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน ตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (Disclosure Form) ที่ใช้บังคับสำหรับการยื่นแบบ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป